วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นิทานเรื่อง โอ๊ย.....ปวดท้อง


แม่ให้เงินหนูนาและหนูนีคนล่ะ 5 บาท หนูนามีเงิน 5 บาท หนูนีก็มีเงิน 5 บาท เอ้...? ตอนนี้หนูนาและหนูนีมีเงินรวมกันกี่บาท ? (10) ทั้งสองคนตั้งใจจะปร้านขายผลไม้ แต่มันไกลมากๆ(เด็กคิดว่าจะทำยังไงดี)

..จึงปั่นจักรยานไป หนูนาเป็นคนปั่น หนูนีเป็นคนซ้อนท้าย

นั่นไง..! ร้านขายผลไม้ ร้านที่หนึ่ง ขายผลไม้สด มะม่วงกิโลล่ะ 5 บาท มะพร้าวอ่อนลูกล่ะ 5 บาท

ขนุนขีดล่ะ 1 บาท รับอะไรดีค่ะ ร้านที่สอง ขายผลไม้ดอง มะม่วงดอง มะยมดอง มะดันดอง ทุกอย่างขีดล่ะ 1 บาท รับอะไรดีค่ะ หนูนาวิ่งรี่เข้าไปร้านขายผลไม้สด อากาศร้อนแบบนี้ ต้องกินน้ำมะพร้าวอ่อน ซื้อน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ลูกคิดเท่าไหร่ค่ะ 1 ลูก 5 บาทจ๊ะ จ่ายค่าน้ำมะพร้าวอ่อนไป 5 บาท (เด็กๆคิดว่าหนูนาจะเหลือเงินเท่าไหร่) จึงไม่เหลือเงินซักบาท อ้า...ชื่นใจน้ำมะพร้าวอ่อน ว้าน..หวาน หนูนีวิ่งไปร้านขายผลไม้ดอง ผลไม้ดอง ถู้ก..ถูก ซื้อมะยมดอง 2 ขีด คิดเท่าไหร่ค่ะ 2 ขีด 2 บาทจ้า หนูนีมีเงิน 5 บาท จ่ายค่ามะยมดอง 2 บาท (เด็กๆคิดว่าหนูนีจะเหลือเงินกี่บาท) หนูนียังเหลือเงินอีก 3 บาท เปรี้ยวจี๊ดถูกใจ แถมเหลือเงินไว้ใช้อีก 5 บาท แต่โอ้ย..โอ้ย ปวดท้อง หนูนาช่วยด้วยทำไมปวดท้องอย่างนี้ อย่างนั้นเราไปหาหมอกันดีกว่า สวัสดีค่ะคุณหมอ..หนูปวดท้องมากๆ แล้วทานอะไรเข้าไปบ้างคับ ทานข้าวตอนเช้า และทานมะยมดองค่ะ เด็กๆทานมะยมดองเข้ามากๆไม่ดีน่ะคับคับ ทานมากๆทำให้ปวดท้อง หมอแนะนำให้ทานผลไม้สดจะดีกว่าน่ะคับ ค่ะวันหลังหนูนีจะไม่ทานผลไม้ดองอีกเเล้ว ทานผลไม้ดองจ่ายเงินไปแค่ 2บาท แต่คุณแม่เสียเงินค่ารักษาพยาบาลตั้งหลายบาท อย่างนี้หนูนีเลือกทานน้ำมะพร้าวอ่อน 5 บาท แล้วไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล เหมือนหนูนาดีกว่า

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ย้อนหลังน่ะคะ

กิจกรรมคณิตศาสตร์ หน่วยผลไม้
หน่วยผลไม้
การนับ
นับผลไม้ที่มีในตะกร้าทั้งหมด (โดยเริมทีละหนึ่ง)
ตัวเลข
ใส่จำนวนตัวเลขตามจำนวนผลไม้ที่นับได้
เปรียบเทียบ
ขนาด น้ำหนัก รูปทรง ผิว สี รสชาติ ของผลไม้แต่ล่ะชนิด
จำแนก
เลือกผลไม้ที่มีสีแดงมาใส่ลงในตะกร้า
เรียงลำดับ
เรียงผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดไปหาผลไม้ที่มีขนาดเล็ก
การจัดประเภท
เลือกผลไม้ที่ต้องปอกปลือกก่อนรับประทาน
เลือกผลไม้ที่มีรสหวาน
การจับคู่การอนุรักษ์
ผลไม้หั่นที่มีปริมานเท่ากัน ในถ้วยแก้วที่มีรูปทรงต่างกัน
การแปรรูป
น้ำหอม สบู่ แชมพู ดอง เชื่อม ทอด

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สรุปการเรียนการสอน 18 ธ.ค.51

ในวันนี้อาจารย์สอนในเรื่องหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้"พบคำตอบด้วยตนเอง"
3. มีเป้าหมายและการวางแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว
การเตรียมพร้อมให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์ จะต้องให้เด็กได้มีพัฒนาการทางด้านสายตาก่อนเป็นอันดับแรก หากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกประเภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บันทึกหลังการสอน

บรรยากาศในชั้นเรียนวันนี้ดีมาก ไม่มีเสียงดังรบกวน!
ขอบข่ายของหลักสูตนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1. การนับ
2. ตัวเลข
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่
8. การวัด
9. เซท 1
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
12. การอนุรักษ์


คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
-ตัวเลข คือสิ่งที่เด็กพบเห็นในชีวิทประจำวัน เช่น ตัวเลขในตัวเรือนนาฬิกา
-ขนาด เช่น

-รูปร่าง เช่น อ้วน ผอม สูง ต่ำ
-ที่ตั้ง เช่น ที่โน้น ที่นั่น ตรงนี้ ข้างหน้า ข้างหลัง
-ค่าของเงิน เช่น เหรียญ 1บาท เหรียญ 5 บาม
-ความเร็ว เช่น การเดิน การวิ่ง
-อุณหภูมิ เช่น ร้อน หนาว สดชื่น


ลักษณะหลักสูตรที่ดี
1. เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวบยอด
2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ท่องจำ
3. แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นต่อยไป
4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้ สามารถบรรยายเเละค้นคว้าเพิ่มเติม
6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน

7. ให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจ ปฎิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาและหลักในการสอน

ทฤษฎีของเพียเจต์
พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กมีลำดับระยะพัฒฯาการทางชีววิทยาเป็นไปตามลำดับดังนี้
- ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส อายุแรกเกิด - 2 ปี เด็กวัยนี้จะรู้จักใช้ประสาทสัมผัสทาง ปาก หู และตาต่อสภาพแวดล้อมรอบๆตัว และเชื่อว่าถ้าไม่เห็นวัตถุแสดงว่าไม่มี
- ขั้นก่อนปฏิบัติการทางสติปัญญา อายุ 2 - 7 ปี
ช่วง 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้เริ่มรู้จักจำแนกรูปแบบ แต่การรับรู้ของเด็กวัยนี้อาจทำให้เข้าใจผิดพลาดไปได้
ช่วง 4 - 7 ปี เด็กวัยนี้รับรู้เรื่องการเปรียบเทียบได้
การจัดการเรียนการสอน
- ควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาและพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก
- ควรจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยให้สอดคล้องกับสิ่งที่ใกล้ตัว และเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเด็ก
- สื่ออุปกรณ์ควรหาสื่อที่เป็นของจริง สามารถจับต้องได้และเพียงพอต่อความต้องการของเด็ก
- ในการสอนครูควรสอนในภาพรวมก่อนแล้วจึงลงรายละเอียด
- ควรเปิดโอกาสให้เด็ฏได้เลืออกเล่นตามความสนใจ
หลักการสอน
ได้จัดลำดับความคิดทางคณิตศาสตร์ตรามลำดับขั้นพัฒนาการ
- การจัดหมวดหมู่ คือ การจัดสิ่งต่างๆโดยใช้เกณฑ์ (เช่น สี รูปร่าง ลักษณะ)
- การเรียงลำดับ ในการเรียงลำดับควรใช้สิ่งที่มีลักษณะเดียวกัน จุดเริ่มต้นที่เท่ากัน
- ความสัมพัธ์เกี่ยวกับระยะ เช่น ใกล้ - ไกล สูง - ต่ำ
- ความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา เช่น จังหวะ ช้า - เร็ว

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เพลง 1-10
1 2 3 ระวังให้ดีงูมันจะฉก
4 5 6 จิ้งจกตกลงมา
7 8 9เรือยาวแล่นถลา
อีก10นั้นหนารีบมาคว้ารางวัล